TungSix-Drill เจาะรูแบบไหนก็ไม่หวั่น ด้วยดอกสว่านเปลี่ยนเม็ดมีดชนิด 6 คมตัด
April 19, 2024วัสดุคมตัด (Cutting Tool Material)
June 3, 2024ชิ้นส่วนที่ผลิตด้วยกระบวนการหล่อมีความสำคัญและใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรม บทความนี้นำเสนอถึงการนำเครื่องสแกน 3 มิติมาใช้เพื่อช่วยพัฒนาและยกระดับคุณภาพของชิ้นงานหล่อโลหะให้ดีขึ้น ซึ่งส่งผลต่อผลิตภาพและยกระดับคุณภาพการผลิตของโรงงานให้สูงขึ้นอีกด้วย
เครื่องสแกน 3 มิติ (3D Scanner) เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดพื้นผิวของชิ้นงานแบบไม่สัมผัส (Non-contact) โดยวัดเป็นจุดพิกัดจำนวนมากบนผิวของวัสดุที่เรียกว่า คลาวด์พอยต์ (Cloud Point) หลังจากนั้นจะแปลงเป็นพื้นผิวเล็กๆ หรือผิวเมช (Mesh) ผิวเมชจะเชื่อมต่อกันเป็นผิวของชิ้นงานที่สมบูรณ์และนำไปใช้งานทางวิศวกรรมต่อไป
เครื่องสแกน 3 มิติสามารถนำมาใช้กับงานหล่อโลหะได้ดังนี้
1. การลดความผิดพลาดในการผลิต
ในกระบวนการหล่อแม่พิมพ์จะประกอบไปด้วยชิ้นส่วนหลายๆ ชิ้นหรือจำเป็นต้องสัมพันธ์กับขนาดของแพทเทิร์น (Pattern) ขนาดที่ผิดพลาดจะส่งผลต่อขนาดของชิ้นงานหรือต้องทำการแก้ไขให้ถูกต้องก่อน ZEISS Inspect Pro สามารถตรวจวัดชิ้นส่วนต่างๆ ได้ก่อน เช่น แม่พิมพ์ทราย ชิ้นส่วนคอร์ มีขนาดรูปร่างถูกต้อง มีช่องว่าง (Gap) ขนาดเท่าใด มีบริเวณใดเกิดการค้ำยัน เมื่อนำมาประกอบเข้าด้วยกัน ซึ่งจะช่วยให้การปรับประกอบแม่พิมพ์ทำได้แม่นยำและมีความรวดเร็วขึ้น
ตรวจสอบขนาดเผื่อของเนื้อวัสดุ (Allowance Check) ให้สัมพันธ์กับกระบวนการตัดเฉือนที่ต้องการ ไม่น้อยเกินไปจนเกิดความบกพร่องไม่สมบูรณ์ เช่น เนื้อแหว่ง โพรงอากาศ ขนาดเผื่อไม่มากเกินไปจนต้องเสียเวลาและต้นทุนในการผลิตที่สูงขึ้น
2. การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์
เครื่องสแกน 3 มิติ สามารถตรวจวัดชิ้นงานต้นแบบได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว ทำให้ผู้ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทำงานได้รวดเร็วและยังได้คุณภาพงานที่ดี อีกทั้งในปัจจุบัน ZEISS Inspect Pro สามารถทำงานแบบ Scan to CAD ได้โดยตรงโดยไม่ต้องใช้ซอฟต์แวร์เสริม ทำให้การตรวจวัดและงาน Reverse Engineering ง่ายและสะดวกขึ้นเป็นอย่างมาก
3. การตรวจสอบคุณภาพ
ช่วยให้การตรวจสอบมีความแม่นยำและสร้างความเชื่อถือให้กับผลิตภัณฑ์ได้เป็นอย่างดี ทั้งด้านการตรวจสอบขนาดพื้นฐานโดยทั่วไปหรืองานตรวจสอบอื่นๆ ดังนี้
- การเปรียบเทียบชิ้นงานที่วัดได้กับ CAD (Deviation to CAD) โดยแสดงด้วยเฉดสีที่จะบ่งบอกถึงค่าความคลาดเคลื่อนจากต้นแบบ เปรียบเทียบรายละเอียดได้ทั่วทั้งชิ้นงาน หากเปรียบเทียบกับข้อผิดพลาดที่อาจเกิดกับการวัดโดยใช้หัวโพรบหรือการวัดเป็นจุด ก็อาจจะข้ามการวัดในบางบริเวณไป
- ใช้ตรวจสอบความหนา – บาง การวัดและรายงานผลจะนำเสนอเฉพาะเรื่องความหนาเท่านั้น จากรูปตัวอย่างบริเวณพื้นสีน้ำเงินเข้มจะมีผนังบางกว่าค่ามาตรฐาน -1.7 มม. ทำให้เห็นความผิดปกติได้ง่าย
- การตรวจสอบ GD&T ZEISS Inspect Pro สามารถแสดงผลรายงาน ตามมาตรฐาน GD&T ทุกรายการ ทั้งในรูปแบบตัวเลขและความแตกต่างของสี ตามตัวอย่างรายงานแสดงผลค่า Cylindrical, Roundness, Profile of Surface, และ Flatness
เทคโนโลยีที่สำคัญของเครื่องสแกน 3 มิติในงานอุตสาหกรรม ซึ่งต้องการความแม่นยำสูง ทนทานและใช้งานได้หลากหลาย มี 2 รูปแบบดังนี้
1. เครื่องสแกน 3 มิติ แบบเลเซอร์
จะใช้ลำแสงเลเซอร์ยิงลงไปบนชิ้นงานแล้วสะท้อนกลับเป็น Cloud Point และแปลงเป็น Mesh ปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีขนาดเล็ก เบา เคลื่อนย้ายไปตามพื้นที่ต่างๆ ได้ง่าย ZEISS ได้พัฒนาเครื่องสแกน 3 มิติ HandsOnMetrology แบบพกพาในโมเดล T-Scan Hawk 2 ที่มีจุดเด่นในเรื่อง
- ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา พกพาง่าย สามารถนำไปใช้งานในพื้นที่ปฏิบัติงานได้
- สแกนได้รวดเร็วและให้รายละเอียดสูง สามารถใช้เลเซอร์สีฟ้าแบบหลายเส้น (Multiple Blue Laser Crosses) ปรับความละเอียดในระหว่างการสแกนในงานเดียวกันได้ ทำให้วัดงานได้เร็วและวัดงานละเอียดอยู่ในงานชิ้นเดียวกันได้
- Workflow Assistance ช่วยให้การใช้งานสะดวก สามารถควบคุมการทำงานที่มือจับโดยตรง ไม่ต้องควบคุมผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์
- วัดงานขนาดใหญ่ด้วย Satellite Mode สแกนงานได้ขนาดใหญ่ถึง 4 เมตร โดยไม่จำเป็นต้องมี Photogrammetry และ Marker และยังคงความแม่นยำสูงถึง 0.02 mm + 0.015 mm/m
- โหมด Dark and Shiny Surfaces สำหรับงานผิวสีดำและผิวมันเงาโดยเฉพาะ ทำให้ทำงานกับพื้นผิวและวัสดุหลายรูปแบบ
2. เครื่องสแกน 3 มิติแบบแสงสีฟ้า (Blue Light)
จะฉายแสงสีฟ้าเป็นเส้นริ้ว (Fringe Projection) ที่ขนาดแตกต่างกันด้วยความเร็วสูงไปบนชิ้นงาน โดยใช้กล้องคุณภาพสูงทางซ้ายและขวาของเครื่องเก็บภาพ แล้วนำมาสร้างเป็น Cloud Point และแปลงเป็น Mesh ต่อไป
แสงสีฟ้ามีจุดเด่นในเรื่องความละเอียดและรวดเร็ว จึงเหมาะกับงานที่ซับซ้อนและความเที่ยงตรงสูง ในงานด้านมาตรวิทยาระดับสูง ตัวอย่างเครื่อง HandsOnMetrology รุ่น ATOS Q ซึ่งมีจุดเด่นดังนี้
- มีความแม่นยำสูงด้วยเทคโนโลยีแสงสีฟ้าแถบความถี่แคบ ที่กรองแสงรบกวนรอบข้างออกได้ ทำให้ได้ข้อมูลที่มีความแม่นยำสูง
- ประมวลผลได้รวดเร็วด้วย Blue Light Equalizer แม้บนพื้นผิวที่มองเห็นได้ยาก และส่งสัญญาณผ่านสายเคเบิลใยแก้วนำแสงช่วยให้รับส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
- ทำงานกึ่งอัตโนมัติได้ด้วยโต๊ะหมุนชิ้นงานไปยังตำแหน่งที่ต้องการ ทำให้ลดความผิดพลาดจากการทำงานของทรัพยากรมนุษย์ได้เป็นอย่างดี
- มีเลนส์ให้เลือกตั้งแต่ 50 – 500 มม. ทำให้เก็บรายละเอียดขนาดเล็กไปจนถึงงานขนาดใหญ่ได้ในเครื่องเดียว
- Self monitoring ตรวจสอบสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อคุณภาพการวัด เช่น การสั่นสะเทือน อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงเกินกว่าค่าที่กำหนด ระบบจะแจ้งเตือนว่าการวัดงานอาจจะไม่ได้คุณภาพตามต้องการ
จากข้อมูลที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าเครื่องสแกน 3 มิติ สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายรูปแบบในกระบวนการหล่อ และยังนำไปใช้ประโยชน์ในการผลิตอื่นได้อีกด้วย ทั้งการออกแบบผลิตภัณฑ์ การผลิตแม่พิมพ์ การวิเคราะห์การใช้งานหรือซ่อมชิ้นส่วนต่างๆ การตรวจสอบปริมาณเนื้องานการก่อนนำไปขึ้นรูปด้วยการกัดและการประกอบชิ้นส่วนต่างๆเข้าด้วยกัน
หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการให้ทีมงานวิศวกรของเราเข้าไปสาธิตการทำงาน สามารถติดต่อเรา บริษัทแฟ็คทอรี่ แม๊กซ์ จำกัด ได้ที่เบอร์ 02-333-8888