ลดเวลาการกัดเหล็กแข็งด้วย MLFH330 MUGEN COATING PREMIUM High-Efficiency Lens 3-Flute End Mill ใหม่จาก NS TOOL
June 14, 2024แก้ปัญหาการพอกของเศษวัสดุที่คมตัดด้วย NO GC22 SMP น้ำมันตัดกลึงโลหะจาก LUBRICAN
August 2, 2024CT scan (Computerized Tomography)
CT scan : Computerized Tomography หรือ เทคโนโลยีเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ที่นำมาใช้งานกันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรม กับวัสดุที่มีความหนาแน่นไม่สูงมาก เช่น อะลูมิเนียม, พลาสติก เป็นต้น
เทคโนโลยี CT scan เริ่มนำมาใช้ในทางการแพทย์ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 เพื่อสร้างภาพภายในของร่างกายมนุษย์ด้วยการเอกซเรย์ จะช่วยให้แพทย์วิเคราะห์สภาพร่างกายได้อย่างแม่นยำก่อนการผ่าตัดหรือการรักษาทางการแพทย์ต่อไป เทคโนโลยีนี้ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมเพื่อตรวจสอบและวิเคราะห์โครงสร้างของวัตถุที่ซับซ้อน เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์, ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์, และวัสดุคอมโพสิต
CT scan ในอุตสาหกรรมทำงานโดยการส่งลำแสงเอกซ์เรย์ผ่านวัตถุ และวัดปริมาณการดูดซับของลำแสงเอกซ์เรย์ที่ผ่านวัตถุ จากนั้นข้อมูลที่ได้จะถูกนำไปสร้างเป็นภาพตัดขวาง (cross-sectional images) จากการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ เมื่อรวมภาพตัดขวางหลายภาพเข้าด้วยกัน จะได้ภาพสามมิติที่สามารถมองเห็นและวิเคราะห์จากมุมต่างๆ ได้
CT scan สำคัญอย่างไรในงานอุตสาหกรรม ?
1. การตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ (Quality Control)
CT scan เป็นเครื่องมือที่ดีในการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ยานยนต์, อิเล็กทรอนิกส์, การบินและอวกาศ และเครื่องจักร ด้วย CT scan ผู้ผลิตสามารถตรวจสอบข้อบกพร่องภายใน เช่น รอยร้าว, ฟองอากาศ และการประกอบที่ไม่สมบูรณ์ โดยไม่ต้องแยกชิ้นส่วน หรือทำลายผลิตภัณฑ์ เพื่อทำการตรวจสอบภายในซึ่งช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบคุณภาพได้เป็นอย่างมาก
2. การวิเคราะห์โครงสร้างและการวัด (Structural Analysis and Measurement)
CT scan ช่วยให้วิศวกรและนักออกแบบสามารถวิเคราะห์โครงสร้างของวัตถุในรายละเอียดที่มากขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับการวัดความหนาของผนัง, การวิเคราะห์ความหนาแน่น และการตรวจสอบความสม่ำเสมอของวัสดุ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของการผลิตและการประกอบชิ้นส่วน เพื่อให้แน่ใจว่าตรงตามมาตรฐานและข้อกำหนดที่กำหนดไว้
3. การสร้างแบบจำลองสามมิติ (3D Modeling)
การใช้ CT scan สามารถสร้างภาพสามมิติของวัตถุได้จากต้นแบบที่เป็นวัสดุ นำมาปรับแก้ไขใน CAD ได้ ซึ่งมีประโยชน์ในการออกแบบและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ นอกจากนี้ยังสามารถนำโมเดลสามมิติที่ได้ไปใช้ในการพิมพ์สามมิติ (3D Printing) หรือการวิเคราะห์ทางวิศวกรรมเพิ่มเติมต่อไป
4. การวิจัยและพัฒนา (Research and Development)
ในด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) CT scan ช่วยให้นักวิจัยสามารถตรวจสอบและวิเคราะห์วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เช่น การพัฒนาวัสดุคอมโพสิตใหม่ หรือการทดสอบความแข็งแรงของวัสดุ การใช้ CT scan ในขั้นตอนการวิจัยช่วยให้เข้าใจถึงโครงสร้างและพฤติกรรมของวัสดุได้ดีขึ้น ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาและการปรับปรุงผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง
5. การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม (Maintenance and Repair)
CT scan มีบทบาทสำคัญในการตรวจสอบสภาพของเครื่องจักรและอุปกรณ์ เพื่อการบำรุงรักษาและการซ่อมแซมโดยไม่ต้องถอดแยกชิ้นส่วน ซึ่งสามารถช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการหยุดการทำงานของเครื่องจักร และเพิ่มประสิทธิภาพในการซ่อมแซม
เครื่อง CT scan เหมาะกับวัสดุชนิดใด ?
เครื่อง CT scan สำหรับอุตสาหกรรม (Industrial CT scan) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการสร้างภาพสามมิติของวัตถุหรือชิ้นงานในอุตสาหกรรม โดยการส่งผ่านรังสีเอกซ์ (X-rays) ผ่านวัสดุและการคำนวณการดูดซับรังสีที่เกิดขึ้น เครื่อง CT scan สำหรับอุตสาหกรรมสามารถใช้กับวัสดุหลายชนิด ดังนี้
- โลหะ (Metals) ใช้สำหรับตรวจสอบโครงสร้างภายในของชิ้นส่วนโลหะ ตรวจหาข้อบกพร่อง เช่น รอยร้าว, รูพรุน, หรือการเชื่อมที่ไม่สมบูรณ์
- อะลูมิเนียม (Aluminium) เหมาะสำหรับการตรวจสอบชิ้นส่วนอะลูมิเนียมที่ใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์และการบิน รวมถึงการตรวจหาข้อบกพร่องเล็กๆ ภายในชิ้นส่วนที่มีความซับซ้อน
- ไทเทเนียม (Titanium) เหมาะสำหรับการตรวจสอบชิ้นส่วนไทเทเนียมที่ใช้ในอุตสาหกรรมการบินและการแพทย์ เนื่องจากมีความแข็งแรงสูงและน้ำหนักเบา
- ทอง (Gold) ใช้ในการตรวจสอบชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมอัญมณีและอิเล็กทรอนิกส์
- พลาสติกและพอลิเมอร์ (Plastic and Polymer) นำไปใช้กับการตรวจสอบชิ้นส่วนพลาสติกที่มีโครงสร้างซับซ้อน ตรวจสอบการรวมกันของวัสดุหลายชนิดหรือการขึ้นรูปที่ไม่สมบูรณ์
- เซรามิก (Ceramic) ตรวจสอบโครงสร้างภายในของเซรามิก รวมถึงการตรวจหารอยร้าวหรือข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในระหว่างการผลิต
- เหล็ก (Steel) ใช้ในการตรวจสอบโครงสร้างภายในของเหล็กกล้า ตรวจหาการเกิดรอยร้าว รอยเชื่อมที่ไม่สมบูรณ์ หรือรูพรุนภายใน
- ทองแดง (Copper) ใช้ในการตรวจสอบโครงสร้างภายในของชิ้นส่วนทองแดงที่ใช้ในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
- นิกเกิลและโลหะผสมนิกเกิล (Nickel and Nickel Alloys) ใช้ในการตรวจสอบโครงสร้างภายในของชิ้นส่วนที่นำไปใช้ในงานที่ทนต่อการกัดกร่อนและความร้อนเช่น ในอุตสาหกรรมเคมีและพลังงาน
- เงิน (Silver) เหมาะสำหรับการตรวจสอบชิ้นส่วนที่ใช้ในงานอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องประดับ
- วัสดุคอมโพสิต (Composite) ใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างภายในของวัสดุคอมโพสิต เช่น การจัดเรียงของเส้นใย, การเกิดรอยร้าวภายใน เป็นต้น
รูปแบบเครื่อง X-ray และ CT scan สำหรับอุตสาหกรรม
เทคโนโลยี X-ray เป็นเครื่องมือสำคัญในการตรวจสอบคุณภาพชิ้นงาน ช่วยให้การตรวจสอบโครงสร้างภายในของวัสดุเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำ
เทคโนโลยี X-ray สำหรับอุตสาหกรรมสามารถแบ่งออกเป็น 3 แบบหลัก ๆ ดังนี้
1. 2D Inspection
การตรวจสอบด้วย 2D Inspection ใช้การถ่ายภาพสองมิติ (2D) เพื่อสร้างภาพแนวราบของชิ้นงาน โดยภาพที่ได้จะเป็นภาพแบนที่เห็นโครงสร้างภายในของวัตถุ
ข้อดี 2D Inspection
- รวดเร็ว การตรวจสอบทำได้รวดเร็ว เนื่องจากไม่ต้องมีการประมวลผลที่ซับซ้อน
- ค่าใช้จ่ายต่ำ ค่าใช้จ่ายในการทำงานและบำรุงรักษาต่ำเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีอื่น
- ใช้งานง่าย การตั้งค่าและใช้งานเครื่องมือทำได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องฝึกอบรมพิเศษ
การประยุกต์ใช้ : เหมาะสำหรับการตรวจสอบข้อบกพร่องพื้นฐาน เช่น รอยแตก, รูพรุน, และการประกอบที่ไม่ถูกต้องในผลิตภัณฑ์ เช่น การตรวจสอบแผงวงจรไฟฟ้า, ชิ้นส่วนยานยนต์, และการตรวจสอบการผลิตในสายการผลิตทั่วไป
2. 3D Inspection
จะใช้หลักการทำงานแบบ CT scan (Computed Tomography) ในการถ่ายภาพหลายมุมรอบวัตถุ แล้วประมวลผลนำมาสร้างเป็นภาพสามมิติ (3D) ของโครงสร้างภายในชิ้นงาน ทำให้สามารถตรวจสอบและวิเคราะห์ได้ละเอียดขึ้นกว่าแบบ 2D
ข้อดี 3D Inspection
- ความละเอียดสูง ให้ภาพที่ละเอียดและแม่นยำของโครงสร้างภายในแบบ 3 มิติ
- ตรวจสอบชิ้นงานที่ซับซ้อน สามารถตรวจสอบชิ้นงานที่มีความซับซ้อนได้ เช่น การวิเคราะห์การไหลของของเหลวภายในท่อหรือการตรวจสอบโครงสร้างทางเคมีของวัสดุ
การประยุกต์ใช้ : เหมาะสำหรับการวิเคราะห์เชิงลึกในอุตสาหกรรมยานยนต์, อากาศยาน และการแพทย์ เช่น การตรวจสอบชิ้นส่วนที่ซับซ้อน การวิเคราะห์การสึกหรอของวัสดุ และการตรวจสอบโครงสร้างภายในของชิ้นส่วนอุปกรณ์ทางการแพทย์
3. 3D Metrology
การทำงานเป็นการสแกน CT ที่มีความแม่นยำสูงผสมผสานการวัดทางมิติที่เที่ยงตรงเข้ากับการสร้างภาพสามมิติ ทำให้สามารถวัดขนาดและรูปร่างของชิ้นงานได้อย่างละเอียดและแม่นยำ
ข้อดี 3D Metrology
- ความแม่นยำสูงสุด สามารถวัดขนาดและรูปร่างของชิ้นงานได้อย่างแม่นยำมาก ทำให้สามารถตรวจสอบการเบี่ยงเบนของขนาดและการเปรียบเทียบกับมาตรฐานที่กำหนดได้ละเอียดและถูกต้องยิ่งขึ้น
- การตรวจสอบที่ละเอียด สามารถตรวจสอบและวัดขนาดชิ้นงานที่มีความซับซ้อนสูง และวิเคราะห์เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของขนาดเมื่อเวลาผ่านไป
การประยุกต์ใช้ : เหมาะสำหรับการควบคุมคุณภาพที่ต้องการความแม่นยำสูงในงานอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมการผลิตอากาศยาน, อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมการแพทย์ ที่ต้องการความละเอียดและความแม่นยำสูง เช่น การตรวจสอบชิ้นส่วนของเครื่องยนต์อากาศยาน, การวัดขนาดชิ้นส่วนทางการแพทย์ที่ต้องการความเที่ยงตรงสูง และการวิเคราะห์โครงสร้างภายในของวัสดุต่างๆ ที่ใช้ในอุตสาหกรรม
การเลือกใช้เทคโนโลยี X-ray ที่เหมาะสมกับความต้องการใช้งานจะช่วยให้คุณสามารถตรวจสอบคุณภาพของชิ้นงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบข้อบกพร่องพื้นฐานด้วย 2D X-ray การวิเคราะห์เชิงลึกด้วย CT scan หรือการวัดขนาดและรูปร่างอย่างละเอียดด้วย CT Scan Metrology Grade ทุกเทคโนโลยีมีข้อดีและเหมาะกับการประยุกต์ใช้ตามความต้องการของคุณที่แตกต่างกัน
ZEISS เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีการตรวจวัดและการถ่ายภาพที่มีชื่อเสียงระดับโลก ด้วยประสบการณ์กว่า 170 ปีในการพัฒนาและผลิตโซลูชั่นที่มีความแม่นยำสูง ZEISS จึงได้รับการยอมรับในความน่าเชื่อถือและมีคุณภาพสูงในทุกผลิตภัณฑ์และบริการ
ZEISS METROTOM 1
ZEISS METROTOM 1 เป็นเครื่อง CT scan metrology grade สำหรับอุตสาหกรรม ที่ออกแบบมาเพื่อการตรวจสอบโครงสร้างภายในของชิ้นงานได้อย่างละเอียดและแม่นยำ มาพร้อมกับเทคโนโลยีล่าสุดที่ช่วยให้การวัดและวิเคราะห์มีความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
- ความละเอียดสูง สามารถสร้างภาพ 3D ที่มีความละเอียดสูง ทำให้สามารถตรวจจับข้อบกพร่องเล็กๆ ในชิ้นงานได้
- ความแม่นยำ ให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำในการวัดขนาดและรูปร่างของชิ้นงาน
- การใช้งานที่หลากหลาย รองรับวัสดุได้หลากหลายประเภท ทั้งโลหะ, พลาสติก, คอมโพสิต, และเซรามิก
- การวิเคราะห์อัตโนมัติ ซอฟต์แวร์ที่มาพร้อมกับเครื่องสามารถวิเคราะห์และสร้างรายงานผลการวัดขนาดทั้งภายในและภายนอกได้อย่างรวดเร็ว
เทคโนโลยีตรวจหาความผิดพลาดอัตโนมัติด้วย AI
ZEISS Automated Defect Detection (ZADD) คือ ระบบการตรวจจับข้อบกพร่องอัตโนมัติที่พัฒนาโดย ZEISS ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยในการตรวจสอบและระบุข้อบกพร่องในกระบวนการผลิตต่างๆ ได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว
ZADD ใช้เทคโนโลยีการประมวลผลภาพและอัลกอริทึม (Algorithm) การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) เพื่อระบุข้อบกพร่องในชิ้นงานได้อย่างอัตโนมัติ ช่วยให้การวิเคราะห์และประเมินผลข้อบกพร่องได้ละเอียดขึ้น เช่น รอยร้าว, รูพรุน, การเชื่อมที่ไม่สมบูรณ์, หรือความไม่สม่ำเสมอในโครงสร้างของวัสดุ
ด้วยการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ZADD สามารถตรวจจับข้อบกพร่องได้แม้ในระดับที่เล็กมาก ทำให้มั่นใจในคุณภาพของผลการตรวจสอบผลิตภัณฑ์มีความแม่นยำถูกต้อง
ระบบสามารถตรวจสอบข้อบกพร่องได้อย่างรวดเร็ว ลดเวลาที่ใช้ในการตรวจสอบและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตให้สูงขึ้น
ZADD มาพร้อมกับซอฟต์แวร์ที่สามารถสร้างรายงานการตรวจสอบข้อบกพร่องได้อัตโนมัติ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถวิเคราะห์และนำข้อมูลไปใช้ในการปรับปรุงกระบวนการผลิตได้อย่างรวดเร็ว
การใช้ ZEISS METROTOM 1 จะช่วยให้คุณได้รับประโยชน์หลากหลาย
- ตรวจสอบคุณภาพที่แม่นยำ ลดข้อผิดพลาดและเพิ่มความมั่นใจในคุณภาพของผลิตภัณฑ์
- การประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ลดเวลาที่ใช้ในการตรวจสอบและลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการผลิตที่ไม่สมบูรณ์
- การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ช่วยให้กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยการตรวจจับข้อบกพร่องตั้งแต่ขั้นต้น จึงช่วยลดของเสียและทำให้ Overall Equipment Effectiveness (OEE) การผลิตสูงขึ้น
- การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและผลลัพธ์ที่แม่นยำ ช่วยให้คุณสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงให้กับลูกค้าได้อย่างมั่นใจ